วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2563

อาการใหม่ “โควิด-19” วิธีสังเกตความผิดปกติของ “ผิวหนัง”

นอกจากมีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก หายใจเหนื่อยหอบแล้ว ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) ยังอาจมีอาการที่ปรากฎทางผิวหนังด้วย

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ในปัจจุบันทั่วโลกกำลังเผชิญกับวิกฤติโรคระบาดไวรัสโคโรนา หรือโรคโควิด-19 และในสื่อออนไลน์ประชาชนได้มีการแชร์ข้อมูล และมีประเด็นถกเถียงกันเกี่ยวกับความผิดปกติทางผิวหนัง เป็นอาการใหม่ของโรคโควิด-19 


วิธีสังเกตความผิดปกติของ “ผิวหนัง” เสี่ยง "โควิด-19"

จากข้อสงสัยดังกล่าว มีการเก็บข้อมูลผู้ป่วยโรคโควิด-19 จากต่างประเทศ เช่น อิตาลี สหรัฐอเมริกา และในประเทศไทยเอง พบว่าร้อยละ 20 ของผู้ป่วย จะมีความผิดปกติทางผิวหนังร่วมด้วย ได้แก่
  • มีผื่นแดง (คันบางราย)
  • มีจุดเลือดออก
  • ผื่นบวมแดงคล้ายโรคลมพิษ
  • กลุ่มของตุ่มน้ำคล้ายโรคอีสุกอีใส 
  • มีการอักเสบของผิวหนังที่เกิดจากการหด และขยายตัวของหลอดเลือด


โควิด-19 อาจทำให้มีอาการผื่นแดงที่ผิวหนัง

แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัส และการติดเชื้อไวรัสสามารถทำให้เกิดความผิดปกติทางผิวหนังได้ โดยในผู้ป่วย 100 คน จะพบผู้ป่วย 20 คน ที่มีผื่นผิดปกติทางผิวหนังด้วย โดยพบว่าในคนไข้โควิด-19 ที่มีอาการทางผิวหนังร้อยละ 40 จะมีอาการพร้อมๆ กับอาการไข้หรือไอ ตั้งแต่พบว่าป่วยเป็นโรคโควิด-19 และร้อยละ 60 จะมีความผิดปกติทางผิวหนังปรากฏในภายหลังแทงหวยออนไลน์
นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ยังมีอาการทางผิวหนังจากสาเหตุอื่นๆ ได้ เช่น การแพ้ยาหรือการใช้ยาบางชนิดในการรักษาซึ่งอาจจะส่งผลให้ผิวหนังจะมีลักษณะคล้ำขึ้นได้ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อาการแสดงทางผิวหนังไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด-19


หากพบผื่นแดง และอาการไข้ ไอ จาม เหนื่อยหอบ ควรพบแพทย์

ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง ให้คำแนะนำว่า หากประชาชนมีอาการผิดปกติทางผิวหนัง ร่วมกับอาการไข้ ไอ หรืออาการทางระบบหายใจอื่นๆ ควรรีบมาพบแพทย์ และในส่วนของแพทย์ผู้ทำการรักษา เมื่อพบผู้ป่วยที่มีไข้ ไอ มีผื่น ในระยะนี้ก็ให้ประเมินความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรนาในการวินิจฉัยแยกโรคของผู้ป่วยรายนั้นๆ ไว้ด้วย
*ภาพใช้เพื่อประกอบบทความเท่านั้น ไม่ใช่อาการจริงของผู้ป่วยโควิด-19*

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2563

"เหนื่อยหอบ-แน่นหน้าอก" แบบไหนเป็น "โควิด-19" หรือ "โรคหัวใจ"


โรคเดียวที่พูดถึงกันไปทั่วโลกในขณะนี้ หนีไม่พ้นเรื่องการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) ซึ่งเกิดจากเชื้อ SARS Coronavirus -2 มาตั้งแต่ปลายปี 2562 โดยหนึ่งในอาการ หากติดเชื้อโควิด-19 คือ เหนื่อยหอบแน่นหน้าอก ซึ่งใกล้เคียงกับอาการของโรคหัวใจบางประเภท เรามาดูวิธีสังเกตอาการว่าจะแยกออกจากโรคหัวใจได้อย่างไร


"เหนื่อยหอบ-แน่นหน้าอก" อาการ "โควิด-19" หรือ "โรคหัวใจ"

นพ.ชาติทนง ยอดวุฒิ อายุรแพทย์หัวใจ รพ.หัวใจกรุงเทพ กล่าวว่า ทำความเข้าใจก่อนว่าอาการของการติดเชื้อโควิด-19 คือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ โดยจะมีอาการที่ทางเดินหายใจส่วนบนเป็นอันดับแรก เช่น คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ ร่วมกับอาการไข้ จนถึงไข้สูงหนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัว ปวดหัวปวดตามข้อ หลังจากนั้นอาการจะมีการเปลี่ยนแปลง และลุกลามไปจนถึงการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่าง คือ ปอด จุดนี้ที่จะทำให้คนไข้เริ่มมีอาการเหนื่อยเกิดภาวะเมตาบอลิซึมสูง ร่วมกับการติดเชื้อในปอด ทำให้ออกซิเจนในเลือดลดต่ำลง คนไข้จะหายใจหอบเหนื่อยหัวใจเต้นเร็ว ซึ่งจะมีความแตกต่างจากอาการเจ็บหน้าอกจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ คืออาการเริ่มต้นจะไม่มีอาการของไข้หวัดมาก่อน โดยมากอาการเจ็บหน้าอกจากเส้นเลือดตีบจะสัมพันธ์โดยตรงกับการออกแรง และออกกำลังกาย
ขณะที่อาการเหนื่อยจากภาวะหัวใจล้มเหลวหรือน้ำท่วมปอดนั้น หากเกิดขึ้นจากภาวะน้ำเกินจะไม่มีอาการเป็นไข้หวัดนำมาก่อน หรือร่วมด้วย แต่ลักษณะอาการของโรคหัวใจล้มเหลว หรือน้ำท่วมปอดนั้น จะเป็นตอนขณะที่นอนราบ และอาการจะมากขึ้นจนถึงนอนราบไม่ได้ นอนลงไปแล้วจะมีอาการไอ ต้องนอนหมอนสูงหลายใบ และหนักสุดคือ นั่งหลับ เพราะนอนราบไม่ได้
สิ่งสำคัญที่ควรระวังคือ คนที่เป็นโรคหัวใจอยู่ก่อนแล้ว หากติดเชื้อโควิด-19 จะไปกระตุ้นให้อาการของโรคหัวใจกำเริบจนแยกอาการได้ค่อนข้างยาก


อันตรายของผู้ป่วยโรคหัวใจ  เมื่อติดเชื้อเป็นโรคโควิด-19

กลุ่มดังต่อไปนี้ มีความเสี่ยงที่จะมีอาการหนักหากติดเชื้อโควิด-19 ได้แก่
  • อายุมากกว่า 65 ปี
  • มีโรคประจำตัว เช่น

    - โรคความดันโลหิตสูง

    - โรคปอดเรื้อรังเดิม

    - โรคเบาหวาน

    - โรคมะเร็ง

    - โรคไต

    - โรคตับแข็ง

    - โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องอยู่เดิม

    เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยโรคหัวใจหากติดเชื้อโควิด-19 อาการจะรุนแรง มีอัตราการเสียชีวิตได้สูงกว่าคนทั่วไป เพราะคนที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว จะมีอาการแสดงมากขึ้นหลังจากติดเชื้อโควิดคือโรคกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรงหรือล้มเหลว ถ้าได้รับเชื้อเข้าไปจะทำให้ระบบการทำงานของร่างกายเมตาบอลิซึมสูงขึ้น จนกระทั่งกระตุ้นให้โรคหัวใจล้มเหลวกำเริบ ติดเชื้อโควิดรุนแรง จนทำให้ไตวาย และไตไม่สามารถขับน้ำออกจากร่างกายได้ จนเป็นเหตุให้น้ำท่วมปอด ซึ่งทั้งสองภาวะนี้ล้วนแล้วแต่เป็นสาเหตุต้นๆ ที่ทำให้เสียชีวิตหรือภาวะแทรกซ้อนต่างๆจนต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลนานและทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ตามมามากมาย
ดังนั้นผู้ป่วยควรมีความระมัดระวังอย่างยิ่งในการดูแลตัวเองไม่ให้ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดเนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่รักษาโรคได้โดยตรง การดูแลตัวเองจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ


ผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร ในช่วงโควิด-19 ระบาด?

คำแนะนำที่ดีที่สุดและได้ผลที่สุดสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจควรปฎิบัติคือ
  1. Social distancing ห่างจากคนอื่นอย่างน้อย 2 เมตร
  2. ใส่หน้ากากอนามัยหมั่นล้างมือให้สะอาดสม่ำเสมอ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์
  3. ล้างมือ กินร้อน ใช้ช้อนของเราไม่ปนกับใคร
  4. แยกของใช้ส่วนตัวทุกชนิด
  5. ไม่ไปในแหล่งระบาด แหล่งชุมชน หรือที่มีประกาศว่าพบผู้ติดเชื้อ
  6. ไม่ให้ผู้สูงอายุออกจากบ้าน
  7. ลูกหลานต้องไม่เอาเชื้อจากนอกบ้านไปติดผู้สูงอายุในบ้าน
  8. ผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ และมีอาการหรือจำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาล เพื่อรักษาหรือติดตามอาการในช่วงนี้ ควรจะปฏิบัติอย่างเคร่งครัด มีการตรวจคัดกรองโรคสวมหน้ากากอนามัย ไม่ควรมาพบแพทย์หรือเลี่ยงไม่มาปรึกษาแพทย์ถ้าอาการยังไม่สงบและยังมีอาการอยู่ และที่สำคัญไม่ควรขาดยา ถ้ามาโรงพยาบาลไม่ได้ควรเตรียมยาให้พอดีหรือใช้วิธีปรึกษาแพทย์ผ่านช่องทางอื่นเช่น การปรึกษาแพทย์ออนไลน์ เป็นต้น
สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ หากเกิดการติดเชื้อโควิด-19 อาจต้องสังเกตอาการของตนเองอย่างดี ตั้งแต่เริ่มต้น เช่น อาการที่คล้ายหวัดคัดจมูกน้ำมูกไหลไอเจ็บคอร่วมกับอาการไข้จนถึงไข้สูงหนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัวปวดหัว ปวดตามข้อควรจะต้องรีบติดต่อสถานพยาบาล และเตรียมพร้อมที่จะมาตรวจเพื่อรักษาอาการตั้งแต่เริ่มต้น หากปล่อยไว้นานอาจเป็นอันตรายได้

วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2563

เมนูสร้างภูมิคุ้มกัน เมนูของว่างง่ายๆที่มีติดบ้าน


เมนูสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วงเวลาที่ต้องนั่งทำงานที่บ้านแบบนี้ แล้วมีของว่างเติมพลังยามบ่ายที่มาพร้อมรสชาติที่ถูกปาก ไม่ทำร้ายหุ่น แถมยังอุดมไปด้วยสารอาหารที่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายได้ รับรองว่าเป็นเมนูที่กินได้บ่อยไม่ต้องกลัวเบื่อ จะกินคนเดียว หรือ จะกินพร้อมหน้าทั้งครอบครัวก็ฟินได้ง่ายๆ แน่นอน
  • โยเกิร์ต มีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ ช่วยปรับสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ ระบบย่อยอาหารได้ ต้องเลือกทานให้เหมาะสมกับวัยด้วย สำหรับผู้ใหญ่ควรเลือกโยเกิร์ตสูตรไขมันต่ำและมีน้ำตาลน้อย ส่วนเด็กที่น้ำหนักตัวไม่เกินเกณฑ์ อาจเลือกอิ่มอร่อยกับสูตรปกติหรือเลือกนมที่มีส่วนผสมของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์

  • วิตามินซี ถ้าหากทานเป็นประจำทุกวัน จะมีส่วนช่วยในการลดความรุนแรงและระยะเวลาของโรคหวัดได้ ที่สำคัญ ร่างกายยังอาศัยวิตามินซีในการสร้างคอลลาเจนเพื่อซ่อมแซมส่วนต่างๆ ให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้นด้วย และการกินฝรั่งไม่ปอกเปลือก 1 ผล จะได้วิตามินซีเทียบเท่ากับส้ม 20 ผล ซึ่งเป็นปริมาณที่มากเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน

  • ทูน่า เมนูของว่างที่คุณประโยชน์ล้นจาน ทูน่าจะมีโอเมก้า-3 ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อการทำงานของสมองและหัวใจแล้ว ยังอุดมไปด้วยโปรตีน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการซ่อมแซมร่างกาย ใช้สร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันต่างๆ เพื่อไม่ให้ติดเชื้อง่าย และยังมีธาตุเหล็กที่ช่วยในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงอีกด้วย

  • อัลมอนด์ เห็นเม็ดเล็กๆ แต่คุณค่าทางสารอาหารกลับไม่จิ๊บตาม เพราะอัลมอนด์อัดแน่นไปด้วยวิตามินอี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องร่างกายจากการติดเชื้อต่างๆ อุดมไปด้วยคุณค่าของสังกะสี ช่วยเพิ่มพลังงานให้ตื่นตัวตลอดวัน รวมทั้ง ไฟเบอร์ แมงกานีส แมกนีเซียม โครเมียม และยังมีกรดไขมันดี เช่น กรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย แต่ต้องไม่ลืมการกินอาหารให้มีความหลากหลาย ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่พอเหมาะ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และทำอารมณ์ให้แจ่มใส ไม่เครียด เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่การมีสุขภาพที่แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจด้วย